วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 9 การประสานงาน,การายงาน,งบประมาณ


dmc.tv
 สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสาน
     1.การจัดวางหน่วยงานที่ง่าย (Simplified Organization)
ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การจัดวางหน่วยงานควรคำนึงถึง
.การแบ่งแผนกซึ่งช่วยในการประสานงาน กล่าวคือ การจัดแผนกต่าง ๆ บางแผนกมีความจาเป็นต้องประสานกันควรอยู่ใกล้ชิดกันเนื่องจากการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ที่ทางานอันเกี่ยวเนื่องอย่าง  ใกล้ชิดกันมากขึ้น
.การแบ่งตามหน้าที่
.การจัดวางรูปงานและระเบียบการที่ชัดแจ้งแก่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง
     2.การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องต้องกัน(Harmonized Program and Policies)
     3.การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทาไว้ดี (Well –Designed Methods of Communication)เครื่องมือที่ช่วยในการติดต่อส่งข่าวคราวละเอียด ได้แก่
     4.เหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ (Aids to Voluntary Coordination)การประสานงานส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจากการร่วมมือโดยสมัครใจของบุคลากรในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
     5. ประสานงานโดยวิธีควบคุม (Coordination through Supervision)
หัวหน้างานมีหน้าที่จะต้องคอยเฝ้าดูการดาเนินปฏิบัติงานต่าง ๆเพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและจะต้องใช้วิธีประเมินผลการปฏิบัติงานทุกระยะจะได้ทราบข้อบกพร่องหาทางแก้ไขให้การปฏิบัติงานถูกต้องยิ่งขึ้น

1. การประสานงานมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ประเภทของการประสานงานแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ
1.การประสานงานภายในองค์การและภายนอกองค์การ การประสานงานภายในองค์การ หมายถึง การประสานงานภายในหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ ส่วนการประสานงานภายนอกองค์การเป็นการระสานงานระหว่างหน่วยงานหรือการติดต่อกับบุคคลภายนอกต่าง ๆ

2.การประสานงานในแนวดิ่ง และการประสานงานในแนวราบ การประสานงานในแนวดิ่ง หมายถึง การประสานงานจากผู้บังคับบัญชามาสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา (Top down) และการประสานงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาไปยังผู้บังคับบัญชา (Bottom up) ส่วนการประสานงานในแนวราบ หมายถึง การประสานงานในระดับเดียวกัน
เทคนิคการประสานงาน(Techniques Coordination)
1.จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
3.การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทาหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
5.การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
6.การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
7.การติดตามผล
อุปสรรคการประสานงาน
อุปสรรคการประสานงาน คือ การขาดความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่นๆ ทราบวัตถุประสงค์และวิธีการทำงาน การก้าวก่ายหน้าที่การงาน การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทำให้เกิดการทำงานที่เป็นระบบที่ดีของความร่วมมือขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน การขาดการนิเทศงานที่ดี ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน ทั้งหมดนี้เป็นอุปสรรคของการประสานงาน


ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
     ชั้น 3 ห้อง 300 อาคาร 60 พรรษามหาราชินี (QS 1 ) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ต . แสนสุข อ . เมือง จ . ชลบุรี 20131 โทรศัพท์  (038) 745900 ต่อ 2080
 ประวัติความเป็นมา
     ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ เป็นศูนย์บริการสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัย ซึ่งเปิดบริการครั้งแรกพร้อมกับการก่อตั้งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อปี พ.ศ.2534 โดยใช้ ชื่อว่าศูนย์ปฏิบัติการทางวิชาการ ให้บริการยืม-คืนหนังสือ รัฐบาลให้ความสำคัญต่องานด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยเฉพาะสื่อการเรียนการสอน เพื่อรองรับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.  2540-2544) ในด้านการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในส่วนของการผลิตและพัฒนาสื่อ กล่าวว่า
การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนมุ่งให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อทุกประเภท รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อคอมพิวเตอร์ และสื่อประสม อุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของครู และการเรียนรู้ของ ผู้เรียน
ดังนั้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ศูนย์ปฏิบัติการทางวิชาการ จึงจัดโครงการให้บริการผลิตสื่อการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ใช้สื่อการเรียนการสอน สื่อการนำเสนอ และใช้บริการวิชาการด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอน และได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ให้บริการยืม - คืนหนังสือ, สื่อโสตทัศนวัสดุ, บริการผลิตสื่อเพื่อการเรียนการสอนสำหรับคณาจารย์ บุคลากร และนิสิต และบริการสืบค้นข้อมูลสารนิเทศ
หน้าที่และความรับผิดชอบ
          ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มีหน้าที่ส่งเสริมงานด้านการเรียนการสอน และค้นคว้าวิจัยสำหรับคณาจารย์ นิสิต และบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งมุ่งให้นิสิตรู้จักใช้ประโยชน์จากศูนย์ทรัพยากร การเรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าวิจัยด้วยตนเองนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน ดังนั้น ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในด้าน สถานที่ วัสดุสารนิเทศ วัสดุครุภัณฑ์ และบุคลากร มีงบประมาณเพียงพอ เพื่อให้ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สามารถให้บริการ และเป็นแหล่ง เพิ่มพูนความรู้ด้วยตนเอง แก่คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานของการประกอบอาชีพในอนาคตรวมทั้งเป็นแหล่งวิทยาการที่สามารถสนับสนุนการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพ โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
1.  สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนของคณาจารย์ นิสิต และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
2. ให้การศึกษาค้นคว้าแก่คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
3. ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4.  ให้คณาจารย์ นิสิต และบุคลากร มีทักษะในการใช้วัสดุสารนิเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยประกอบการเรียนการสอน
5.  ให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรในการเลือกและใช้วัสดุสารนิเทศ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน
6.  จัดหาสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโสตทัศนวัสดุเพื่อการเรียนการสอน
7.  บริการให้ยืม - คืน หนังสือ และสื่อโสตทัศนวัสดุ แก่คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
8.  บริการผลิต และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอนของคณาจารย์ นิสิต และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
9.  ให้บริการสืบค้นสารนิเทศด้วยคอมพิวเตอร์
10. เป็นศูนย์ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการผลิตเอกสารทางวิชาการแก่คณาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์
11. ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
12. บริการอินเตอร์เน็ต
การบริหาร
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ แบ่งการบริหารงาน ดังนี้
บริการสิ่งพิมพ์ หมายถึงการให้บริการยืม-คืนหนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ ได้แก่ หนังสือภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ เอกสารประกอบการเรียนการสอน คู่มือครู แผนการสอน หนังสืออ่านเพิ่มเติม หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ หนังสืออ้างอิง วิทยานิพนธ์ วารสาร และอื่นๆ เป็นต้น
บริการสื่อโสตทัศนวัสดุ หมายถึงการให้บริการยืม-คืนอุปกรณ์การสอนทั้งหลายที่มีคุณค่าทางการศึกษาและการสอน ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับหนังสือเป็นสำคัญ แต่อาศัยเสียงและภาพเป็นหลัก เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาที่ปรากฏในรูปของเสียง เช่น เพลง ภาพสิ่งของต่างๆ ซึ่งอธิบายด้วยคำได้ยาก เป็นต้น โสตทัศนวัสดุ มีหลายประเภท ดังนี้
•  ชุดการเรียนการสอน
•  แผ่นใส
•  ภาพผนึก
•  สไลด์
•  ซีดี-รอม
•  วีซีดี
•  แผ่นดิสเกตต์
•  เทปคลาสเซ็ท
•  วิทัศน์
•  คู่มือการใช้สื่อ
•  ป้ายนิเทศ
•  และอื่นๆ เป็นต้น
บริการผลิตสื่อการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ใช้สื่อการเรียนการสอน และสื่อการนำเสนอ และใช้บริการวิชาการด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอน
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
1.  ส่งเสริมงานด้านการเรียนการสอนของอาจารย์ นิสิต และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
2. เป็นแหล่งสารนิเทศด้านการเรียนการสอนสำหรับบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
3. พัฒนาและบริการวิชาการแก่บุคลากรภายในชุมชน
เวลาเปิดบริการ
วันจันทร์ วันศุกร์ 8.0016.30 น .
วันเสาร์ วันอาทิตย์ 8.00 17.00 น .





      3ascom.rta.mi.th                           johnrobertpowers.in.th

2. ให้นิสิตอธิบายความสำคัญของการประสานงานกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ความสำคัญของการประสานงาน
1.การประสานงานเป็นกระบวนการในการบริหาร
2.การประสานงานเป็นระเบียบธรรมเนียมในการบริหารงาน
3.การประสานงานเป็นหน้าที่ของนักบริหารหรือหัวหน้างาน
ความสำคัญของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นการสร้างประสบการณ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด ความรู้ ต่อเนื่องถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2. เป็นแหล่งที่ให้บริการวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการที่หลากหลายก่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร

การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดาเนินงาน และเป็นการนาเสนอเพื่อปรับปรุงในการดาเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป
4.ประเภทของเงินงบประมาณในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง

ประเภทของเงินงบประมาณในการจัดศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จำแนกออกเป็น 7 หมวด ดังนี้

                      (1)  หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ

                      (2)  หมวดค่าจ้างชั่วคราว

                      (3)  หมวดค่าตอบแทนใช้สอย  และวัสดุ

                      (4)  หมวดค่าสาธารณูปโภค

                      (5)  หมวดค่าครุภัฑณ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง

                      (6)  หมวดเงินอุดหนุน

                      (7)  หมวดรายจ่ายอื่นๆ

5.เงินอุดหนุนโดยอนุโลมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

              (1)  ค่าฌาปนกิจ

              (2)  ค่าสินบน

              (3)  ค่ารางวัลนำจับ

              (4)  เงินอื่นๆที่สำนักงบประมาณจำ  กำหนดเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น