วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้


จังหวัดเพชรบูรณ์
1.วัดมหาธาตุ
  
วัดมหาธาตุ มีพระเจดีย์ ทรงพุ่ม ข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย สูง ประมาณ 4 วาเศษ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้คงสร้างมา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2510 ทางกรมศิลปกรได้บูรณะพระเจดีย์องค์นี้ ได้ขุดพบลานทองจารึกใน พระเจดีย์องค์ใหญ่ หลังพระอุโบสถ และได้นำ โบราณวัตถุที่บรรจุเจดีย์นั้นขึ้นมาด้วย มีสิ่งหนึ่งที่ได้มาพร้อมกับพระเครื่อง พระบูชา เป็นรูปช้าง รูปหมู ในท้องหมูมีลานทองจาลึกอยู่ 3 แผ่น มีข้อความตามจารึกว่า "พระเจ้าเพชรบุรเป็นลูกพระญาอนรงปรดิสถาแล" เขียน เป็นคำปัจจุบันได้ "พระ เจ้าเพชรบุรเป็นลูก พระยาอันรงประดิษฐานไว้"จึงทำให้เราทราบว่า"เพชรบูรณ์"แต่เดิมนั้นเป็น "เพชรบุร"
ตั้งอยู่ถนนนิกรบำรุง ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดเพชรบูรณ์
จัดอยู่ในประเภทสถานที่ สถาบัน หน่วยงาน ได้แก่ วัด โบสถ์ สุเหร่าหรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

                                              
                                               2. น้ำตกตาดหมอก
ต้น กำเนิดจากเขาตาดหมอก เป็นน้ำตกสูงเด่นไหลลงจากหน้าผาสูงมีชั้นเดียวโดดๆ ความสูงประมาณ 200-300 เมตร สายน้ำที่โจนลงมาจากหน้าผาสูงทำให้สายน้ำแตกกระจายเป็นละอองน้ำคละคลุ้งไป ทั่ว ยิ่งในช่วงฤดูฝนที่มีปริมาณน้ำมาก ละอองน้ำจะฟุ้งกระจายจนไม่สามารถยืนอยู่ใกล้น้ำตกได้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามทางถนน 7 กิโลเมตร แล้วเดินลัดเลาะไปตามลำห้วยอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงน้ำตก ทางช่วงสุดท้ายเป็นทางขึ้นเขาชัน
                                                        ทรัพยากรป่าไม้
1. ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) เป็นป่าที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร พันธุ์ไม้ที่        สำคัญในป่าชนิดนี้ ได้แก่ ไม้ในวงศ์ก่อ เช่น ก่อสีเสียด ก่อตาหมู สนสามพันปี ยอมหอมกำลัง          เสือโคร่ง อบเชย ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวกเฟริน์ กล้วยไม้ดิน มอสต่าง ๆ
2. ป่าดิบแห้ง (DRY Evergreen Forest) เป็นป่าที่สูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 300-600 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าชนิดนี้ ได้แก่ กระบาก ยาง ตะเคียน มะค่าโมง ปออีเก้ง ลำพู กระเบา มะไฟป่า ฯลฯ พืชชั้นล่าง ได้แก่ พวก ปาล์ม หวาย ดาว ขิง ข่าต่างๆ
3. ป่าเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Forest) ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าโปร่ง มีหญ้าและไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มะค่า ฯลฯ
4. ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าโปร่งมีไม้ขนาดกลางเป็นจำนวนมาก พิ้นป่าไม้รกทึบมีไม้ไผ่ ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สัก แดง ประดู่ ชิงชัน ตะแบก พืชชั้นล่างประกอบด้วย ไผ่ชนิดต่างๆ และหญ้า
จัดอยู่ในประเภทสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ น้าตก, บึง, หาดทราย เป็นต้น


        3.หอสมุดนานาชาติเขาค้อ สร้างขึ้นโดยความดำริของ สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ (นายจรัส พั้วช่วย) และการสนับสนุนร่วมมือ จากประชาชนและ ข้าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งได้ ประกอบพิธีเปิด เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน 2538 โดยมีคณะเอกอัครราชทูต ประเทศต่าง ๆ ให้เกียรติร่วมใน พิธีเปิดหอสมุดนานาชาติแห่งนี้
     มีพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ เป็นหอสมุดขนาดใหญ่ ออกแบบอย่างสวยงาน เป็นรูปเพชรคว่ำ สร้างด้วย กระจกสะท้อนแสง ด้านหน้าจัดทำเป็นส่วนดอกไม้ นานาพันธ์ ส่วนมากเป็นไม้เมืองหนาว ออกดอกสวยงาม มีพระเจดีย์บรรจุพระพรมสารีริกธาตุ อันเชิญมาจาก ประเทศศรีลังกา และมีหลวงพ่อทบ ขนาดเท่าของจริงเกจิอาจารย์ ที่นับถือของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ประดิษฐาน บริเวณหอสมุดนานาชาติเขาค้อ ภายในแบ่งหอสมุดแบ่งพื้นที่บริการเป็น 3 ส่วน คือ
-ส่วนแรก เป็นส่วนนานาชาติ ประกอบด้วยชุดรับแขก ตู้โชว์ ตู้เก็บของใช้โบราณเก่าแก่ ทั้งวัตถุของไทยและต่างชาติ เช่น ตาชั่งอายุ 200 ปี กระบุงสมัยสุโขทัย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒณธรรมของไทย ไว้ให้ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และส่วนนี้ยังเป็นที่เก็บรักษาพระราชอาสน์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ราชการที่ 6 เสด็จเยี่ยมราษฎรอำเภอเขาค้อ เมื่อ พ.ศ. 2528
       -ส่วนที่สอง เป็นห้องสมุดประชาชนทั่วไป สำหรับบริการนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
       -ส่วนที่สาม เป็นสำนักงานศูนย์บริการ ศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเขาค้อ สำหรับบริการ ด้านการศึกษานอกโรงเรียนทุกรูปแบบ
    ในเดือน ธันวาคม ของทุกปี จะมีการจัดงาน วันนัดพบเอกอัครราชฑูต ณ เขาค้อที่หอสมุดแห่งนี้เป็นประจำ และที่หอสมุดยังแสดงข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณ ทั้งโบราณ
     เปิดเวลา 07.00 – 17.00 น.
             ค่าเข้าชม 10 บาท
จัดอยู่ในประเภทสถานที่ สถาบัน หน่วยงาน ได้แก่ วัด โบสถ์ สุเหร่าหรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สถานประกอบการ มหาวิทยาลัย และแหล่งเกษตรกรรม

  

                                     4.อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หนองแม่นา)
   สภาพภูมิประเทศทั่วไป มีลักษณะเป็นภูเขาคล้ายหลังเต่าสูง ๆ ทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขา หินปูนทอดเป็นแนวยาวเหนือใต้ ตอนกลาง ประกอบด้วยเทือกเขาสูงหลายแห่ง มีจุดสูงสุด คือบริเวณเขาแค สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ
1,028 เมตร อันเป็น ต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยเข็กใหญ่ ห้วยเข็กน้อย ลำน้ำทุ้ม คลองชมพู และคลองวังทอง มีสภาพธรรมชาติ ทิวทัศน์ และเอกลักษณ์ ทางธรรมชาติ ที่สวยงามอันเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติ แบบสะวันนาสลับป่าสน และป่าดิบชื้น ที่สมบูรณ์ที่สุดอีกแห่งของประเทศไทย

         จัดอยู่ในประเภทสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ น้าตก, บึง, หาดทราย เป็นต้น

                                           5.การอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น 145 กิโลเมตร อยู่ห่างจากอำเภอหล่มสักประมาณ 55 กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ตามทางหลวงหมายเลข 12 ถึง หลักกิโลเมตรที่ 50 มีป้ายชี้ทางเข้าสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งเป็นทางลูกรัง ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถ้าไปโดยรถประจำทาง สามารถขึ้นรถโดยสายจาก ขอนแก่นหรือหล่มสัก ซึ่งผ่านหน้าที่ทำการอุทยานฯทุกวัน
กิจกรรม : - ชมทิวทัศน์ - ดูนก - ดูผีเสื้อ - - พักกางเต็นท์ รับบรรยากาศธรรมชาติ
    เส้นทางเดินเที่ยวชมธรรมชาติ
เส้นทางเดินสายที่ 1 ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เริ่มต้นจากทางแยกใกล้ที่ทำการ อุทยานแห่งชาติ ระหว่างทางจะเห็นสัตว์ป่าบางชนิด ได้แก่ หมาไม้ และนกชนิดต่างๆ สำหรับในฤดูฝนนั้น จะพบรอยเท้าช้างจำนวนมาก เส้นทางนี้จะกลับ ออกมาสู่บริเวณ ทางเข้าที่ทำการอุทยานฯ
เส้นทางเดินสายที่ 2 เริ่มจากทางเดินตรงข้ามกับที่ทำการ อุทยานฯ ลัดเลาะผ่าน ป่าเต็งรัง ผ่านบ่อดินโป่ง ซึ่งมีช้าง กวาง และสัตว์อื่นๆ ไปกินเสมอ ทางสายนี้ จะไปสิ้นสุดที่หน่วยพิทักษ์อุทยานซำบอน รวมระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร และถ้าจะเดินไปยังที่พัก ต้องเดินทางต่อไปอีก 5 กิโลเมตร หากต้องการเดินเที่ยวต่อ ก็สามารถใช้ทางเดินที่เริ่มต้นจาก หน่วยพิทักษ์อุทยานซำบอน ผ่านใจกลาง อุทยานแห่งชาติ น้ำหนาว ไปสิ้นสุดที่เนินภูกุ่มข้าว ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่จะได้เห็นทะเลยอดสนล้อมรอบทั้งสี่ทิศ
เส้นทางเดินสายที่ 3.ทางสายนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 800 เมตร เป็นทางเข้าชมป่าแปกหรือป่าสน ทางสายนี้จะผ่านป่าสน ที่ขึ้นเรียงราย อยู่เป็นระยะๆ และอาจจะได้พบช้างป่า กวาง เก้ง รวมทั้งรอยเท้าเสือด้วย





ถ้ำผาหงษ์(จุดชมพระอาทิตย์ตก)
    ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 39 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (หล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 300 เมตร มีลักษณะเป็นเขาสูง มีทางเท้าเดินขึ้นยอดเขาประมาณ 200 เมตร เพื่อชมทิวทัศน์และชมพระอาทิตย์ตกในตอนเย็น ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม
กิจกรรม : - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
สวนสนบ้านแปก (ดงแปก)
    ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 49 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (หล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 5 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นป่าสนสองใบขึ้นอยู่เป็นกลุ่มใหญ่เพียงชนิดเดียวตามธรรมชาติ ต้นไม้พื้นล่างประกอบด้วยทุ่งหญ้าและหญ้าเพ็กเป็นจำนวนมาก มีความสวยงาม
สวนสนภูกุ่มข้าว
    ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 53 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (หล่มสัก-ชุมแพ) มีทางลูกรังมาตรฐานจากแยกกิโลเมตรที่ 53 ถึงสวนสนภูกุ่มข้าว ระยะทาง 15 กิโลเมตร เป็นป่าสนสามใบ มีต้นสนขนาดใหญ่มีความสูงตั้งแต่ 30-40 เมตร ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ อย่างหนาแน่นแทบไม่มีไม้อื่นปะปนอยู่ มีพื้นที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ไม้พื้นล่าง ประกอบด้วยทุ่งหญ้าคา หญ้าเพ็กจำนวนมากเช่นเดียวกัน ในฤดูแล้ง ทุ่งหญ้าใต้ต้นสนจะค่อยๆ เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลแก่ พอถึงฤดูฝนใหม่ทุ่งหญ้าเหล่านี้ก็จะกลับเขียวอีกครั้งหนึ่ง เป็นเช่นนี้เรื่อยๆ ไป โดยเฉพาะฤดูฝนตาม ทุ่งหญ้าจะมีพันธุ์ไม้หลากสี นานาพรรณขึ้นอยู่ อย่างสวยงามมาก บริเวณสวนสนนี้ มีเนินเขาเตี้ยๆ ลูกหนึ่ง เรียกว่า ภูกุ่มข้าวสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 880 เมตร เป็นเนินเขาที่เป็น จุดเด่นจุดหนึ่ง ท่ามกลางสวนสน เมื่อขึ้นไปยืนบนเนินเขาภูกุ่มข้าว จะเห็นแนวยอดสนอยู่ในระดับสายตา สามารถมองเห็นแนวยอดสนเป็นแนวติดต่อกันทั้งสี่ด้านของภูกุ่มข้าว ดูแล้วจะเห็นคล้ายๆ ท้องทะเลของยอดสน เมื่อมองไปทางทิศใต้จะเห็นอ่างเก็บน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์ (น้ำพรม) ที่กว้างใหญ
น้ำตกเหวทราย
    ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 67 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (หล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้า 1 กิโลเมตรเป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยสนามทราย ซึ่งมีต้นน้ำที่ป่าดงดิบ ไหลผ่านป่าซำผักคาว ลำห้วยสนามทรายนี้ เป็นแนวธรรมชาติที่แบ่งเขตแดนระหว่างกิ่งอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ กับอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ น้ำตกเหวทราย เป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 20 เมตร บริเวณด้านใต้น้ำตกมีแอ่งน้ำลึกสามารถลงเล่นน้ำ และใต้น้ำตกมีชะง่อนหินขนาดใหญ่ เป็นเพิงสามารถพักแรมหลบฝนได้ บรรยากาศบริเวณลำห้วยน่าเดินเล่น มีต้นไม้ปกคลุมตลอด ในฤดูฝนน้ำตกมีปริมาณน้ำมากและสวยงามมาก
น้ำตกทรายทอง
    เป็นน้ำตกที่อยู่ห่างจากน้ำตกเหวทรายประมาณ 500 เมตร มีความกว้างที่สุดประมาณ 30 เมตร สูง 4 เมตร มีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การนั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจ โดยเฉพาะในฤดูฝน น้ำตกมีประมาณน้ำมากตกลงมาเป็นหน้ากว้าง 30 เมตร สวยงามมากเช่นเดียวกัน
กิจกรรม : ดูผีเสื้อ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก
ภูผาจิต (ภูด่านอีป้อง)
    ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 69 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (หล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 10 กิโลเมตร ทางค่อนข้างลำบาก ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 6-7 ชั่วโมง สภาพป่าสวยงามมาก ลักษณะเด่นเป็นภูเขาที่มีที่ราบบนยอดเขา ลักษณะสันฐานคล้าย ภูกระดึงแต่เล็กกว่า เป็นภูเขาที่มียอดราบแบบโต๊ะ มีไม้สนขึ้นอยู่ประกอบด้วยป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ มีต้นไม้มีค่าหลายชนิด ภูเขานี้มียอดสูงสุดในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว สูง 1,271 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
กิจกรรม : - ชมทิวทัศน์ - ดูนก - ดูผีเสื้อ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ผาล้อมผากอง
    ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 40 ทางหลวงสายบ้านห้วยสนามทราย-อำเภอหล่มเก่า หน่วยพิทักษ์อุทยานภูผากลางดง (ซำม่วง) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 5-7 กิโลเมตร ลักษณะเป็นภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,134 เมตร เป็นเขาหินปูนเมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสามารถมองเห็นทิวทัศน์รอบ ๆ บริเวณได้ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ ประกอบด้วยพรรณไม้ที่มีค่ามาก บริเวณใกล้เคียงยังมีผากลางโหล่น มีความสูงประมาณ 850 เมตร ผาต้นฮอม มีความสูงประมาณ 900 เมตร ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงามมากเช่นเดียวกัน
ถ้ำใหญ่น้ำหนาว (ภูน้ำริน)
    ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 60 ทางหลวงสายบ้านห้วยสนามทราย-อำเภอหล่มเก่า บ้านหินลาด มีทางลูกรังรถยนต์เข้าถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติถ้ำใหญ่ถ้ำน้ำหนาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเขาหินปูนสูงประมาณ 955 เมตร ทำให้เกิดเป็นถ้ำ น้ำหนาว เป็นถ้ำใหญ่มีความงามวิจิตรพิศดารโดยธรรมชาติ มีหินงอกหินย้อยและที่แปลกที่สุดคือ มีน้ำไหลหรือน้ำรินออกจากปากถ้ำ ภายในถ้ำยังเป็นที่อาศัยของค้างคาวจำนวนมากอีกด้วย
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

น้ำตกตาดพรานบ่า
    ทางเข้าอยู่ใกล้ที่ว่าการกิ่งอำเภอน้ำหนาว กิโลเมตรที่ 20 ทางหลวงสายบ้านห้วยสนามทราย-อำเภอหล่มเก่า เป็นทางลูกรังรถยนต์เข้าถึงน้ำตก มีลักษณะเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ปานกลาง ตกจากหน้าผาสูงประมาณ 20 เมตร น้ำตกจากหน้าผาสูงพุ่งเป็นลำสู่เบื้องล่างเป็นสองชั้น สาเหตุที่น้ำตกมีชื่อว่า ตาดพรานบา เนื่องจากพรานบาเป็นผู้เข้าไปพบน้ำตกแห่งนี้เป็นคนแรก สำหรับคำว่าตาดนั้นเป็นภาษาพื้นบ้านท้องถิ่นหมายถึง น้ำตก
กิจกรรม : - เที่ยวน้ำตก
จุดชมวิวภูค้อ (จุดชมพระอาทิตย์ขึ้น)
   ตั้งอยู่บริเวณ กม. 46 ของทางหลวงหมายเลข 12 สายหล่มสัก-ชุมแพ เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม ที่สุดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้น นอกจากนี้ทางอุทยานแห่งชาติ ยังได้จัดทำเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย
กิจกรรม : - ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ป่าเปลี่ยนสี
    บริเวณกิโลเมตรที่ 63-70 ของทางหลวงหมายเลข 12 สายหล่มสัก-ชุมแพ ในประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม ของทุกปี ผืนป่าบริเวณนี้ซึ่งเป็นป่าผสมผลัดใบ ก่อนที่พันธุ์ไม้จะผลัดใบจะมีปรากฏการณ์ธรรมชาติของป่าเปลี่ยนสีที่สวยงามน่าชมยิ่ง ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดทำทางเดินเท้าสำหรับเที่ยวชมธรรมชาติในป่าไว้หลายเส้นทาง เพื่อให้นักท่องเที่ยวผู้ชอบเดินป่าสามารถชมธรรมชาติได้ทั่วถึง
กิจกรรม : ชมทิวทัศน์


จัดอยู่ในประเภทสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ น้าตก, บึง, หาดทราย เป็นต้น

อ้างอิงจาก:http://www.thai-tour.com/thai-tour/north/petchbun/data/place/npk_namnao.htm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น