วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 9 การประสานงาน,การายงาน,งบประมาณ


dmc.tv
 สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสาน
     1.การจัดวางหน่วยงานที่ง่าย (Simplified Organization)
ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การจัดวางหน่วยงานควรคำนึงถึง
.การแบ่งแผนกซึ่งช่วยในการประสานงาน กล่าวคือ การจัดแผนกต่าง ๆ บางแผนกมีความจาเป็นต้องประสานกันควรอยู่ใกล้ชิดกันเนื่องจากการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ที่ทางานอันเกี่ยวเนื่องอย่าง  ใกล้ชิดกันมากขึ้น
.การแบ่งตามหน้าที่
.การจัดวางรูปงานและระเบียบการที่ชัดแจ้งแก่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง
     2.การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องต้องกัน(Harmonized Program and Policies)
     3.การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทาไว้ดี (Well –Designed Methods of Communication)เครื่องมือที่ช่วยในการติดต่อส่งข่าวคราวละเอียด ได้แก่
     4.เหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ (Aids to Voluntary Coordination)การประสานงานส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจากการร่วมมือโดยสมัครใจของบุคลากรในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
     5. ประสานงานโดยวิธีควบคุม (Coordination through Supervision)
หัวหน้างานมีหน้าที่จะต้องคอยเฝ้าดูการดาเนินปฏิบัติงานต่าง ๆเพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและจะต้องใช้วิธีประเมินผลการปฏิบัติงานทุกระยะจะได้ทราบข้อบกพร่องหาทางแก้ไขให้การปฏิบัติงานถูกต้องยิ่งขึ้น

1. การประสานงานมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ประเภทของการประสานงานแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ
1.การประสานงานภายในองค์การและภายนอกองค์การ การประสานงานภายในองค์การ หมายถึง การประสานงานภายในหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ ส่วนการประสานงานภายนอกองค์การเป็นการระสานงานระหว่างหน่วยงานหรือการติดต่อกับบุคคลภายนอกต่าง ๆ

2.การประสานงานในแนวดิ่ง และการประสานงานในแนวราบ การประสานงานในแนวดิ่ง หมายถึง การประสานงานจากผู้บังคับบัญชามาสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา (Top down) และการประสานงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาไปยังผู้บังคับบัญชา (Bottom up) ส่วนการประสานงานในแนวราบ หมายถึง การประสานงานในระดับเดียวกัน
เทคนิคการประสานงาน(Techniques Coordination)
1.จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
3.การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทาหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
5.การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
6.การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
7.การติดตามผล
อุปสรรคการประสานงาน
อุปสรรคการประสานงาน คือ การขาดความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่นๆ ทราบวัตถุประสงค์และวิธีการทำงาน การก้าวก่ายหน้าที่การงาน การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทำให้เกิดการทำงานที่เป็นระบบที่ดีของความร่วมมือขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน การขาดการนิเทศงานที่ดี ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน ทั้งหมดนี้เป็นอุปสรรคของการประสานงาน


ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
     ชั้น 3 ห้อง 300 อาคาร 60 พรรษามหาราชินี (QS 1 ) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ต . แสนสุข อ . เมือง จ . ชลบุรี 20131 โทรศัพท์  (038) 745900 ต่อ 2080
 ประวัติความเป็นมา
     ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ เป็นศูนย์บริการสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัย ซึ่งเปิดบริการครั้งแรกพร้อมกับการก่อตั้งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อปี พ.ศ.2534 โดยใช้ ชื่อว่าศูนย์ปฏิบัติการทางวิชาการ ให้บริการยืม-คืนหนังสือ รัฐบาลให้ความสำคัญต่องานด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยเฉพาะสื่อการเรียนการสอน เพื่อรองรับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.  2540-2544) ในด้านการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในส่วนของการผลิตและพัฒนาสื่อ กล่าวว่า
การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนมุ่งให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อทุกประเภท รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อคอมพิวเตอร์ และสื่อประสม อุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของครู และการเรียนรู้ของ ผู้เรียน
ดังนั้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ศูนย์ปฏิบัติการทางวิชาการ จึงจัดโครงการให้บริการผลิตสื่อการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ใช้สื่อการเรียนการสอน สื่อการนำเสนอ และใช้บริการวิชาการด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอน และได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ให้บริการยืม - คืนหนังสือ, สื่อโสตทัศนวัสดุ, บริการผลิตสื่อเพื่อการเรียนการสอนสำหรับคณาจารย์ บุคลากร และนิสิต และบริการสืบค้นข้อมูลสารนิเทศ
หน้าที่และความรับผิดชอบ
          ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มีหน้าที่ส่งเสริมงานด้านการเรียนการสอน และค้นคว้าวิจัยสำหรับคณาจารย์ นิสิต และบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งมุ่งให้นิสิตรู้จักใช้ประโยชน์จากศูนย์ทรัพยากร การเรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าวิจัยด้วยตนเองนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน ดังนั้น ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในด้าน สถานที่ วัสดุสารนิเทศ วัสดุครุภัณฑ์ และบุคลากร มีงบประมาณเพียงพอ เพื่อให้ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สามารถให้บริการ และเป็นแหล่ง เพิ่มพูนความรู้ด้วยตนเอง แก่คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานของการประกอบอาชีพในอนาคตรวมทั้งเป็นแหล่งวิทยาการที่สามารถสนับสนุนการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพ โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
1.  สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนของคณาจารย์ นิสิต และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
2. ให้การศึกษาค้นคว้าแก่คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
3. ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4.  ให้คณาจารย์ นิสิต และบุคลากร มีทักษะในการใช้วัสดุสารนิเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยประกอบการเรียนการสอน
5.  ให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรในการเลือกและใช้วัสดุสารนิเทศ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน
6.  จัดหาสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโสตทัศนวัสดุเพื่อการเรียนการสอน
7.  บริการให้ยืม - คืน หนังสือ และสื่อโสตทัศนวัสดุ แก่คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
8.  บริการผลิต และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอนของคณาจารย์ นิสิต และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
9.  ให้บริการสืบค้นสารนิเทศด้วยคอมพิวเตอร์
10. เป็นศูนย์ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการผลิตเอกสารทางวิชาการแก่คณาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์
11. ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
12. บริการอินเตอร์เน็ต
การบริหาร
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ แบ่งการบริหารงาน ดังนี้
บริการสิ่งพิมพ์ หมายถึงการให้บริการยืม-คืนหนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ ได้แก่ หนังสือภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ เอกสารประกอบการเรียนการสอน คู่มือครู แผนการสอน หนังสืออ่านเพิ่มเติม หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ หนังสืออ้างอิง วิทยานิพนธ์ วารสาร และอื่นๆ เป็นต้น
บริการสื่อโสตทัศนวัสดุ หมายถึงการให้บริการยืม-คืนอุปกรณ์การสอนทั้งหลายที่มีคุณค่าทางการศึกษาและการสอน ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับหนังสือเป็นสำคัญ แต่อาศัยเสียงและภาพเป็นหลัก เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาที่ปรากฏในรูปของเสียง เช่น เพลง ภาพสิ่งของต่างๆ ซึ่งอธิบายด้วยคำได้ยาก เป็นต้น โสตทัศนวัสดุ มีหลายประเภท ดังนี้
•  ชุดการเรียนการสอน
•  แผ่นใส
•  ภาพผนึก
•  สไลด์
•  ซีดี-รอม
•  วีซีดี
•  แผ่นดิสเกตต์
•  เทปคลาสเซ็ท
•  วิทัศน์
•  คู่มือการใช้สื่อ
•  ป้ายนิเทศ
•  และอื่นๆ เป็นต้น
บริการผลิตสื่อการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ใช้สื่อการเรียนการสอน และสื่อการนำเสนอ และใช้บริการวิชาการด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอน
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
1.  ส่งเสริมงานด้านการเรียนการสอนของอาจารย์ นิสิต และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
2. เป็นแหล่งสารนิเทศด้านการเรียนการสอนสำหรับบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
3. พัฒนาและบริการวิชาการแก่บุคลากรภายในชุมชน
เวลาเปิดบริการ
วันจันทร์ วันศุกร์ 8.0016.30 น .
วันเสาร์ วันอาทิตย์ 8.00 17.00 น .





      3ascom.rta.mi.th                           johnrobertpowers.in.th

2. ให้นิสิตอธิบายความสำคัญของการประสานงานกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ความสำคัญของการประสานงาน
1.การประสานงานเป็นกระบวนการในการบริหาร
2.การประสานงานเป็นระเบียบธรรมเนียมในการบริหารงาน
3.การประสานงานเป็นหน้าที่ของนักบริหารหรือหัวหน้างาน
ความสำคัญของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นการสร้างประสบการณ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด ความรู้ ต่อเนื่องถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2. เป็นแหล่งที่ให้บริการวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการที่หลากหลายก่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร

การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดาเนินงาน และเป็นการนาเสนอเพื่อปรับปรุงในการดาเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป
4.ประเภทของเงินงบประมาณในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง

ประเภทของเงินงบประมาณในการจัดศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จำแนกออกเป็น 7 หมวด ดังนี้

                      (1)  หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ

                      (2)  หมวดค่าจ้างชั่วคราว

                      (3)  หมวดค่าตอบแทนใช้สอย  และวัสดุ

                      (4)  หมวดค่าสาธารณูปโภค

                      (5)  หมวดค่าครุภัฑณ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง

                      (6)  หมวดเงินอุดหนุน

                      (7)  หมวดรายจ่ายอื่นๆ

5.เงินอุดหนุนโดยอนุโลมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

              (1)  ค่าฌาปนกิจ

              (2)  ค่าสินบน

              (3)  ค่ารางวัลนำจับ

              (4)  เงินอื่นๆที่สำนักงบประมาณจำ  กำหนดเพิ่มเติม