วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หลักการจัดคนเข้าทำงานและหลักการสั่งการอำนวยการ

หลักการจัดคนเข้าทำงานและหลักการสั่งการอำนวยการ
ระบบการบริหารงานบุคคล
1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
     1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
     1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
     1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออกอยู่จนเกษียณ
     1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท
2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการะคุณ
การจำแนกตำแหน่ง
แบ่งเป็น 3 ประเภท

     1. จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสำคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น
     2. การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศใช้กับทหาร ตำรวจ
     3.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์
ขั้นตอนของการวางแผนกำลังคน
-ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ กระบวนการวางแผนกำลังคนต้องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ และคาดคะเนปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายและแผนขององค์การ เช่น แนวโน้มของธุรกิจนั้น ๆ ในอนาคต, การขยายตัวและการ
เจริญเติบโตขององค์การ (และคู่แข่ง), การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างองค์การ, การเปลี่ยนแปลงในแนวคิดปรัชญาการบริหารในอนาคต, บทบาทของรัฐบาล, บทบาทสหภาพแรงงาน, การแข่งขันของธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ
-การตรวจสภาพกำลังคน ; ค้นหาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสภาพกำลังคนที่มีอยู่ในองค์การ เช่น จำนวนตำแหน่ง อัตรากำลังคน ความสามารถของพนักงานที่มีอยู่ การตรวจสภาพกำลังคนอาจจะทำได้ดังต่อไปนี้
     1. การวิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง องค์การมีตำแหน่งอะไรบ้าง มีคุณสมบัติแต่ละตำแหน่งอย่างไรบ้าง
     2. การทำบัญชีรายการทักษะ ตรวจสภาพพนักงานแต่ละคนมีความสามารถ ชำนาญถนัดในด้านใดบ้าง
     3. คาดการความสูญเสียกำลังคนในอนาคต ใครจะลาออกในอนาคต ใครเกษียณอายุปีหน้าบ้าง
     4. ศึกษาความเคลื่อนไหวภายในเกี่ยวกับ การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง โยกย้าย ให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา
แผนภูมิแสดงความเคลื่อนไหวของบุคคลาการในองค์การ
-การพยากรณ์ความต้องการกำลังคน คล้ายกับการตรวจสภาพกำลังคน แต่การพยากรณ์มุ่งเน้นอนาคต จะอาศัยปัจจัยต่อไปนี้เพื่อช่วยในการพยากรณ์คือ
     1.ปริมาณการผลิต
     2.การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
     3.อุปสงค์และอุปทาน
     4.การวางแผนอาชีพให้แก่พนักงาน
Career Planning
-การเตรียมหาคนสำหรับอนาคต อาจทำได้ดังนี้
     1.การฝึกอบรมพัฒนาพนักงานที่มีอยู่ ช่วยขวัญกำลังใจ แผนอาชีพ
     2.การสรรหาคัดเลือกบุคคลจากภายนอก ตลาดแรงงาน
การวางแผนกำลังคนที่ดี
1. ภาระงาน Workload หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน
2. การออกแบบงาน Job Design เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงาน     อะไรบ้าง
3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จำเป็นแต่ละ ตำแหน่ง เช่น ความสำคัญของงาน ระดับความเป็นอิสระ ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของงาน ความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็น เพื่อกำหนดรายละเอียดของตำแหน่ง Job Description และ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification
4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน Job Description เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ
5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก
6. การทำให้งานมีความหมาย Job Enrichment เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน (จิ๋วแต่แจ๋ว, เล็กดีรสโต) (Job Enlargement) เล็ก ๆ มิต้าไม่ ใหญ่ ๆ มิต้าทำ
องค์ประกอบของการอำนวยการ
1. ความเป็นผู้นำ ; เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา อำนาจจากบารมี และอำนาจตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดผู้นำ 3 แบบ คือ แบบประชาธิปไตย แบบเผด็จการ และแบบตามสบาย
2. การจูงใจ ; มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอำนวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทำงาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แกความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตดังนั้น ในการสั่งการโดยมีเทคนิคจูงใจด้วย ก่อนจะสั่งการควรขึ้นคำถามก่อนว่า พอมีเวลาหรือไม่หรือ คุณจะช่วยงานนี้ได้ไหม
3. การติดต่อสื่อสาร ; เป็นกระบวนการสำคัญช่วยให้การอำนวยการดำเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี 2 ลักษณะคือ สื่อสารแบบทางเดียว และสื่อสารแบบ 2 ทาง
4. องค์การและการบริหารงานบุคคล จุดมุ่งหมายของนักอำนวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อำนวยการจึงต้องทำให้เกิดความสมดุลกัน
ประเภทของการอำนวยการ
โดยวาจา
โดยลายลักษณ์อักษร  ได้แก่
1. ทำบันทึกข้อความ
2. หนังสือเวียน
3. คำสั่ง
4. ประกาศ
รูปแบบของการอำนวยการ
1. คำสั่งแบบบังคับ
2. คำสั่งแบบขอร้อง
3. คำสั่งแบบแนะนำหรือโดยปริยาย
4. คำสั่งแบบขอความสมัครใจ

การอำนวยการที่ดี
ต้องชัดเจน
ให้คำสั่งมีลักษณะแน่นอน ไม่ใช่ตามอารมณ์
ถ้าผู้รับคำสั่งมีท่าทีสงสัย ให้ขจัดความสงสัยทันที
ใช้นำเสียงให้เป็นประโยชน์
วางสีหน้าเข้มแข็งเอาจริงเอาจัง
ใช้ถ้อยคำอย่างสุภาพ
ลดคำสั่งที่มีลักษณะ ห้ามการกระทำให้เหลือน้อยที่สุด
อย่าออกคำสั่งในเวลาเดียวกัน มากเกินไป
ต้องแน่ใจว่าการออกคำสั่งหลาย ๆ คำสั่ง ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง
ถ้าผู้รับปฏิบัติ ปฏิบัติไม่ได้ อย่าบันดาลโทสะ พิจารณาตนเองว่าเหตุใด คำสั่งไม่ได้ผล อย่าโยนความผิดให้ผู้รับคำสั่ง
 ให้นิสิตอธิบายความเชื่อมโยงการบริหารงานบุคคลกับการอำนวยการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนอย่างไร
-การกริการงานบุคคลเป็นการจัดบุคคลหรือเป็นการมอบหมายงานให้บุคคลที่ถูกคัดเข้ามาให้ตรงกับความสามารถโดยคำนึงถึงเป้าหมายขององค์กรและเมื่อมีบุคลากรแล้วยังต้องมีการอำนายการที่ดีเพราะการอำนวยการคือการชี้แนะแนวทางการทำงาน การควบคุมการทำงานในองค์กรและเป็นการประเมินเพื่อแก้ไขและพัฒนาองค์กรให้เป็นไปตามแผนที่ว่างไว้และบรรลุตามเป้าหมายขององค์กร ดังนั้นการบริหารงานบุคคลและการอำนวยการจึงมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เพราะในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีตำแหน่งการทำงานที่ต่างกันจึงต้องมีการจัดบุคคลลงในงานที่ถูกต้องและต้องการการอำนวยการที่ดีเพื่อให้การทำงานในแต่ละตำแหน่งเป็นไปอย่างราบรื่น และบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้


วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัย

ศูยน์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
วิสัยทัศน์   
มุ่งมั่นสร้างวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย
พันธกิจส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณภาพทรัพยากรบุคคลของประเทศ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
บทบาทและหน้าที่
1.  เป็นแหล่งบริการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เสริมการ
     เรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการเรียนรู้รูปแบบพิพิธภัณฑ์
     การศึกษา  เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์    
     เทคโนโลยี  และสิ่งแวดล้อมแก่สังคม
2.  ดำเนินการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี 
     ธรรมชาติวิทยา  สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ   ดาราศาสตร์และ
     อวกาศ  แก่นักเรียน  นักศึกษาและประชาชนทั่วไป  ในรูปแบบของการจัด 
     นิทรรศการ   การแสดง  กิจกรรมการศึกษา  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  และสื่อ
     การเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ 
3.  ดำเนินการศึกษา  วิเคราะห์  ออกแบบ  พัฒนา  ข้อมูลวิชาการและ
     รูปแบบด้านเทคนิค  เพื่อจัดทำสื่อ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สื่อ
     นิทรรศการ  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  สื่อโสตทัศน์  และสื่อสิ่งพิมพ์
4.  ประสานงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภารกิจของหน่วยงาน5.  ส่งเสริม  สนับสนุน  และดำเนินงานด้านการเผยแพร่ความรู้
     วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
6.  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่
     เกี่ยวข้อง

แหล่งที่มา
ปีสังกัดรายละเอียด
พ.ศ. 2498กรมวิชาการจัดตั้งกองอุปกรณ์การศึกษา
พ.ศ. 2501กรมวิชาการคณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ มอบอาคาร “ศาลาวันเด็ก” ในบริเวณสนามเสือป่า
พ.ศ. 2505กรมวิชาการคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ โดย มล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สร้าง ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
พ.ศ. 2507กรมวิชาการวันที่ 18 สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารท้องฟ้าจำลอง
พ.ศ. 2514กรมวิชาการสภาคณะปฏิวัติมีมติเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2518กรมวิชาการเดือน สิงหาคม เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2519กรมวิชาการประกาศพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการใหม่ จัดตั้งหน่วยงานระดับกองหน่วยใหม่ คือ ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา ประกอบด้วยหน่วยงานหลัก คือ ศาลาวันเด็ก ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2522กรมการศึกษา นอกโรงเรียน
  • วันที่ 24 มีนาคม ประกาศจัดตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยมีศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษาเป็นหน่วยงานในสังกัด
  • วันที่ 9 สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย
พ.ศ. 2537กรมการศึกษา นอกโรงเรียนเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น “ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา” ในสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน
พ.ศ. 2545
 
 
พ.ศ. 2551
สำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ
 
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปลี่ยนชื่อกรมการศึกษานอกโรงเรียนเป็น สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
 
 
เปลี่ยนชื่อสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนเป็น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อ้างอิง:http://www.sciplanet.org/main.php?filename=index

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555


การจัดการ (Management)
ความหมายของการจัดการ (Management)
                นักวิชาการด้านการจัดการไม่นิยมให้คำจำกัดความการจัดการหรือการบริหาร เนื่องจากมีขอบข่ายและความหมายเกินกว่าจะนิยามด้วยประโยคสั้นๆ เพียงไม่กี่ประโยคได้ คำนิยามที่นักวิชาการในสมัยก่อนนิยามได้แก่ความหมายองค์ประกอบ (บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมาร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน) โดยดูว่ากิจกรรมใดบ้างที่เข้าข่ายลักษณะงามตามภารกิจของการจัดการ อย่างไรก็ตามนักวิชาการด้านการจัดการในปัจจุบันมีความเห็นไปในทางเดียวกันว่าควรให้คำนิยามความหมายของการจัดการหรือการบริหารเพื่อใช้เป็นแนวทางร่วมกันในการอธิบายขอบข่ายของลักษณะการจัดการ แม้จะไม่สามารถอธิบายได้ครอบคลุม หรืออธิบายได้เพียงบางส่วนเท่านั้นก็ตาม ก็เป็นสิ่งที่ควรกระทำเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจนขึ้น
                  ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ ได้ให้ความหมายการจัดการ คือกระบวนการนำทรัพยากรการบริหารมาใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามขั้นตอนการบริหารคือ
                1.การวางแผน ( 
Planning )
               2.การจัดการองค์การ ( Organizing )
               3. การชี้นำ ( 
Leading )
              4.การควบคุม ( 
Controlling )

ซึ่งจากความหมายดังกล่าวมีคำสำคัญ 3 คำ คือ กระบวนการ
ทรัพยากรการบริหาร และวัตถุประสงค์ สามารถนำมาเขียนเป็น แผนภูมิได้ดังภาพ


              INPUT คือทรัพยากรการบริหาร ( Management resources ) อันได้แก่ 4 M’s ประกอบด้วย คน ( Man ) เงิน ( Money ) วัตถุดิบ ( Material ) และวิธีการ  /  จัดการ (  Method / Management ) ถูกนำเข้าในระบบเพื่อการประมวลผลหรือการบริการที่เติบโตและพัฒนาก้าวหน้าไปพร้อมกับอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการที่เติบโตและพัฒนาขึ้นไปอย่างรวดเร็วทำให้ทรัพยากรเพียง 4 ประการเริ่มไม่เพียงพอสำหรับเป้าหมาย จึงได้เพิ่มขึ้นอีก 2 M’s เป็น 6 M’s ได้แก่ เครื่องจักรกล ( Machine ) และ การตลาด ( Market ) ในขณะเดียวกันการทำงานที่มองเห็นถึงความสำคัญ หรือคุณค่าของจิตใจของผู้ปฏิบัติงานมีมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของคนงานมากขึ้น จึงเพิ่มขวัญและกำลังใจ ( Morale ) เข้าไปเป็น 7 M’s และเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ( Globalization ) ระบบการสื่อสารไร้พรหมแดนที่ติดต่อเชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลกทำให้การติดต่อสื่อสารรวดเร็วใครไม่รู้หรือไม่มีข้อมูลย่อมเสียเปรียบในเชิงธุรกิจจึงได้เพิ่ม ข้อมูลข่าวสาร ( Message ) เข้าไปในทรัพยากรกระบวนการผลิต รวมเป็น 8 M’s  ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุดตราบเท่าที่ระบบอุตสาหกรรมการผลิตการจัดจำหน่ายและการบริการยังคงพัฒนาและก้าวไปไม่หยุดยั้ง
PROCESS คือ หน้าที่หรือกิจกรรมขั้นพื้นฐานที่ผู้บริหารต้องกระทำ ในปัจจุบันยึดถือหน้าที่ 4 ประการได้แก่ POLC การวางแผน ( Planning ), การจัดองค์การ ( Organizing ), การชี้นำ( Leading ) และ การควบคุม ( Controlling ) ซึ่งมีพัฒนาการของแนวคิดมาตั้งแต่สมัยของ ฟาโย ( Henri Fayol )ปี 1916 ที่เห็นว่าหน้าที่การจัดการ ประกอบด้วย POCCC ได้แก่ การวางแผน ( Planning ), การจัดองค์การ ( Organizing ), การสั่งการ ( Commanding ), การประสานงาน ( Coordinating ), การควบคุม ( Controlling ) ต่อมาในปี 1937 กูลิกและเออร์วิก ( Gulick และ Urwick ) เห็นว่ากระบวนการจัดการประกอบด้วย การวางแผน               ( Planning ), การจัดองค์การ ( Organizing ), การจัดคนเข้าทำงาน ( Staffing ), การอำนวยการ ( Directing ), การประสานงาน (Coordinating ), การรายงานผล( Reporting ) และ การงบประมาณ ( Budgeting ) ซึ่งนิยม เรียกย่อว่า POCDCORB ครั้งเมื่อเข้าปี 1972 แฮร์โรลด์ คูนตซ์  ( Harold D. Koontz ) มีความเห็นว่าหน้าที่ทางการจัดการคือ POSDC ได้แก่การวางแผน ( Planning ), การจัดองค์การ ( Organizing ), การจัดคนเข้าทำงาน ( Staffing ),การอำนวยการ ( Directing ) และการควบคุม ( Controlling )ซึ่งแนวความคิดของเขาเปลี่ยนแปลงไปชัดเจน โดยในปี 1988 คูนตซ์และเวียห์ริช  ( Koontz และ Weihrich )เขียนตำราใช้ชื่อว่า Management ร่วมกันและได้เปลี่ยนหน้าที่ทางการจัดการจากตัว D ( Directing ) เป็น L ( Leading ) พัฒนาด้านแนวคิดดังกล่าวยังคงก้าวต่อไปไม่หยุดยั้ง บางทีในยุคหน้าเราอาจเห็นหน้าที่การจัดการที่เหลืออักษรเพียงตัวเดียวหรือสองตัวเท่านั้นก็เป็นได้ ดังนั้นอาจสรุปหน้าที่หรือกิจกรรมขั้นพื้นฐานทางการจัดการได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการ ( Process) แปรรูปทรัพยากรที่นำเข้าให้เป็นผลผลิตตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์การต่อไป
                OUTPUT คือเป้าหมาย ( Goals ) หรือ วัตถุประสงค์ ( Objectives ) ขององค์การ ที่นำออกมาจากกระบวนการแปรรูปในขั้นตอนที่สอง เป้าหมายขององค์การสามารถแบ่งหยาบได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ องค์การที่มีเป้าหมายที่มุ่งแสวงหากำไร ( Profit ) และองค์การที่มีเป้าหมายไม่มุ่งแสวงหากำไร( Non – profit ) หรืออาจแบ่งเป็นองค์การที่วัตถุประสงค์เพื่อการผลิตสินค้า กับองค์การที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการ( Services ) ก็ได้
การจัดการในสำนักหอสมุด

             -สำนักงานเลขานุการ เป็นฝ่ายที่สนับสนุนภารกิจหลักของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีหน้าที่หลักในการดำเนินงานได้แก่ งานสารบรรณ การบริหารงานบุคคล จัดทำแผนและงบประมาณ อาคารสถานที่และยานพาหนะ ประชาสัมพันธ์ การเงินบัญชีและพัสดุ โดยอำนวยความสะดวกและประสานงานระหว่างสำนักหอสมุดกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
               


              -ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ  ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ฝ่ายต่าง ๆ ดูแลระบบเครือข่าย จัดการฐานข้อมูล ตลอดจนแก้ไขปัญหา ที่เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โปรแกรมและเครือข่าย เพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบงานดังนี้
1.วางแผนและพัฒนาระบบเทคโนโลยี ทำหน้าที่วางแผนและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ในห้องสมุด โดยการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับการพัฒนางาน
 2.งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ การพัฒนาหรือบริหารงานห้องสมุด
3.งานฐานข้อมูล ดูแลรับผิดชอบฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ฉบับเต็ม ฐานข้อมูลปัญหาพิเศษระปริญญาตรี และฐานข้อมูลอื่น ๆ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการให้บริการสารสนเทศ รวมทั้งการพัฒนาเว็บไซต์สำนักหอสมุด
4.งานเว็บไซต์ ดูแลและพัฒนาเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด
5.งานบริการดูแลระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้หน่วยงานต่าง ๆทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติบริการการติดตั้งรวมถึงดูแลระบบห้องสมุดอัตโนมัติกับคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการที่ร้องขอ
6.งานฝึกอบรม พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคลากรในระดับต่าง 
                   -ฝ่ายบริการสารสนเทศ  ทำหน้าที่ให้บริการยืม-คืนหนังสือ/วิทยานิพนธ์ แนะนำการใช้ห้องสมุดและบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด รวมทั้งดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือ ดังนี้

 งานยืม-คืน
·       บริการยืม-คืนหนังสือ/วิทยานิพนธ์
·       บริการยืมระหว่างห้องสมุด
·       รับสมัครสมาชิกห้องสมุด
·       ตรวจสอบหนี้สินของสมาชิกห้องสมุด
·       แจ้งสื่อเกินกำหนดส่งและแจ้งวันกำหนดส่งสื่อล่วงหน้าแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัย
งานส่งเสริมการใช้บริการ
·       ฝึกอบรมการใช้ห้องสมุดและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
·       แนะนำการสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
·       แนะนำการใช้ห้องสมุดและบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด
·       บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
งานบริการผู้อ่าน
·       ดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือ
·       ตรวจสอบหนังสือที่มีสภาพชำรุดและจัดส่งไปบำรุงรักษา
 -ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ  ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหาหนังสือจากภายในและต่างประเทศให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพารวมทั้งดำเนินงานบำรุงรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์อีกด้วย
               -ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  ทำหน้าที่วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อ ให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัยและตรงกับความต้องการ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและวิธีการต่าง ๆ มาใช้ในการดำเนินงานสร้างฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
1.งานตรวจสอบหนังสือกับฐานข้อมูล
- รับหนังสือจากฝ่ายวางแผนฯ และนำหนังสือมาทำการตรวจสอบรายการในระบบฐานข้อมูลของสำนักหอสมุด หากรายการใดมีอยู่แล้วดำเนินการเพิ่มข้อมูลรายการ(Item) ในฐานข้อมูล
- นำหนังสือที่ไม่มีในระบบฐานข้อมูลมาตรวจสอบกับinternet
- รายการใด ไม่มีในระบบห้องสมุด จะนำส่งให้บรรณารักษ์ทำการวิเคราะห์หมวดหมู่ต่อไป
2.งานสร้างและควบคุมฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือและสื่อโสตทัศน์ 
 - การกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์
 - ออกแบบหน้าจอของงานฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์
- ดูแลระบบฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์
  3.งานบันทึกข้อมูล
- บันทึกข้อมูลทางบรรณานุกรมหนังสือ  วิทยานิพนธ์ และสื่อโสตทัศน์ เช่น  ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ  สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์  ปีพิมพ์ หัวเรื่อง และข้อมูลอื่นๆ ตามรูปแบบมาตรฐานการลงรายการ  US MARC ลงในระบบฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือลงระบบ  Magic  Library
งานวิเคราะห์ข้อมู
 - วิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือแต่ละรายการ และกำหนดเลขหมู่ให้ตรงกับเนื้อหาพร้อมทั้งกำหนด หัวเรื่องโดยใช้คู่มือประกอบ
- ลงรายการบรรณานุกรม และกำหนดหัวเรื่องสื่อโสตทัศน์
4.งานเตรียมหนังสือและสื่อโสตทัศน์ก่อนออกบริการ 
- พิมพ์สัน ติดสัน ตามเลขเรียกหนังสือ
- ตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือกับสันหนังสือ
- พิมพ์รายชื่อหนังสือใหม่ตามใบแนะนำสั่งซื้อ ของอาจารย์ที่สั่งซื้อ
- นำหนังสือส่งฝ่ายบริการสิ่งพิมพ์ และ ฝ่ายส่งเสริมการใช้บริการ เพื่อออกให้บริการ
- นำสื่อโสตทัศน์ส่งออกให้บริการ
           -ฝ่ายเอกสารและวารสาร  ดำเนินการคัดเลือก การจัดหา ตรวจรับลงทะเบียนวารสาร หนังสือพิมพ์ และจดหมายข่าว การจัดทำรายการบรรณานุกรมวารสาร การจัดทำดัชนีวารสารการจัดทำหน้าสารบัญวารสาร การจัดทำวารสารสถาบันฉบับเต็ม การเย็บเล่มวารสาร และการดูแลห้องอ่านวารสาร
           -ฝ่ายโสตทัศนศึกษา  เป็นหน่วยงานหนึ่งในงานบริการการศึกษา สังกัดสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีหน้าที่ในการคัดเลือก จัดหา บริการยืม-คืน สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่สมาชิก บริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ โดยให้บริการเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ตลอดจน ให้บริการ VIDEO/CD on Demand รายการภาพยนตร์ และนิทรรศการออนไลน์บนเว็บไซต์สำนักหอสมุด
การให้บริการ  
          พื้นที่บริการ
                                   ชั้น 2

·       สมัครสมาชิกห้องสมุด
·       ยืม-คืนหนังสือ/ วิทยานิพนธ์, ยืมระหว่างห้องสมุด
·       สืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
·       หนังสือภาษาต่างประเทศ
·       มุมหนังสือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Corner), มุมต่อต้านการค้ามนุษย์, มุมคุณธรรม
ชั้น 3
·       ยืม-คืนหนังสือ/ วิทยานิพนธ์
·       หนังสือภาษาไทย, นวนิยาย, เรื่องสั้น, หนังสือเด็ก
ชั้น 5
·       ยืมหนังสือ/ วิทยานิพนธ์
·       ฝึกอบรม/ แนะนำการใช้ห้องสมุด
·       สืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
                  ·       วิทยานิพนธ์, หนังสืออ้างอิง, หนังสือหายาก, ราชกิจจานุเบกษา, สารสนเทศภาคตะวัน                                               ออก, จุลสาร, กฤตภาค
                          ชั้น 7

·       หนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
·       หนังสือภาษาไทย พิมพ์ก่อน พ.ศ. 2526
                  ·       หนังสือภาษาต่างประเทศ พิมพ์ก่อน ค.ศ. 1970
                   การบริการ

·       บริการหนังสือด่วน (หนังสือใหม่อยู่ระหว่างการดำเนินงานของงานพัฒนาทรัพยากร)หนังสือสืบค้นได้จาก OPAC (การสืบค้นจากคอมพิวเตอร์) ในช่องสถานะของหนังสือระบุว่า  กำลังดำเนินการ  ผู้ใช้สามารถขอรับบริการหนังสือชื่อเรื่องนั้น ๆ ได้จากฝ่ายวางแผนและพัฒนาทรัพยากร ห้อง 109 ชั้น 1 สำนักหอสมุด โดยทางฝ่ายจะให้บริการหนังสือด่วนแก่ผู้ใช้บริการทันทีที่ได้รับแบบคำร้องขอใช้หนังสือด่วน ซึ่งขอรับบริการคำร้องดังกล่าวได้จากเคาน์เตอร์บริการ ชั้น 2
·       บริการอินเทอร์เน็ต
·       บริการจัดแสดงสื่อใหม่
·       บริการห้องมินิโฮมเธียเตอร์
·       บริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
·       บริการยืม-คืนสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
·       บริการขอใช้สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์เร่งด่วน
·       บริการปริ้นท์ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตด้วยเครื่องพิมพ์มีทั้งขาวดำ และสี
·       บริการจองสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทาง WEB OPAC
·       บริการแปลงสัญญาณเทปวีดิทัศน์เป็นวีซีดีหรือแปลงสัญญาณวีซีดีเป็นเทปวีดิทัศน์
·       บริการ Video on Demand, CD on Demand
·       บริการนิทรรศการออนไลน์
·       บริการยืม-คืนทรัพยากรห้องสมุด
       การดูแลรักษาทรัพยากรในสำนักหอสมุด   
           1.  หนังสือทุกเล่มที่รับเข้ามาใหม่ในห้องสมุดก่อนจะทำการจัดหมวดหมู่เพื่อนำส่งขึ้นชั้นให้บริการนั้น จะต้องผ่านกระบวนการคัดแยกตามประเภทของปก และประเภทของสิ่งพิมพ์กล่าวคือจะคัดแยกหนังสือออกเป็น 4  ประเภทได้แก่  หนังสือปกแข็ง หนังสือปกอ่อน และวิทยานิพนธ์ (ฉบับสำเนา)  หนังสือปกแข็งจะคัดแยกและนำส่งฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  หนังสือปกอ่อนจะทำการเสริมปกแข็ง และวิทยานิพนธ์ฉบับสำเนาจะทำการเย็บเล่มและเข้าปกแข็ง  
            2.  หนังสือที่ออกให้บริการในห้องสมุดแล้วชำรุด ส่วนงานให้บริการผู้ใช้จะรวบรวมส่งให้งานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการรับมาทำความสะอาดและคัดแยกประเภทการซ่อม โดยจำแนกการซ่อมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่การซ่อมแบบสมบูรณ์ (Full repair) การซ่อมกึ่งสมบูรณ์ (Half repair) การซ่อมบางส่วน (Partial repair) และการเย็บเล่มเข้าปกแข็ง (binding) กระบวนการนี้รวมถึงการจัดทำป้ายอักษรชื่อเรื่องของหนังสือและแถบรหัสเลขเรียกหนังสือ เพื่อความสมบูรณ์ในการขึ้นชั้นให้บริการอีกครั้งหนึ่งของหนังสือด้วย
              3.  การรับหนังสือชำรุดจากส่วนให้บริการผู้ใช้จะต้องตรวจสอบเอกสารนำส่งซึ่งแนบมาให้ถูกต้องตรงกัน เมื่อมีรายการใดไม่ถูกต้องจะทำการทักท้วงและนำเอกสารส่งคืนเพื่อตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องตรงกับจำนวนและรายการหนังสือที่ได้รับจริงทุกครั้ง และเมื่องานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำหนังสือส่งคืนส่วนให้บริการผู้ใช้ครบถ้วนตามจำนวนที่ได้รับ
              4.  สำหรับหนังสือที่ถูกส่งมาบำรุงรักษาไม่ว่าจะด้วยวิธีใด จะเป็นหนังสือใหม่แรกรับหรือหนังสือเก่าออกให้บริการแล้วชำรุดส่งซ่อมก็ตาม เมื่อมีผู้ใช้บริการต้องการใช้ด่วน งานบำรุงรักษาหนังสือจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับคำร้องขอ โดยร้องขอไม่เกินเวลา 14.00 น. ของวันทำการปกติหากได้รับแจ้งหลังจากเวลานั้นผู้ใช้บริการจะได้รับหนังสือในอีก 1 วันถัดมา
              5.   วัสดุที่ใช้ในการบำรุงรักษาหนังสือจะเป็นไปด้วยความประหยัดตามวิธีการในการบำรุงรักษาแต่ละวิธีซึ่งแตกต่างกันไป โดยหากวัสดุเดิมของหนังสือยังใช้ได้จะยังคงใช้เป็นส่วนสำคัญในการบำรุงรักษา ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมการเสริมปกแข็งหรือการเข้าปกเย็บเล่มใหม่ก็ตาม