วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555


การจัดการ (Management)
ความหมายของการจัดการ (Management)
                นักวิชาการด้านการจัดการไม่นิยมให้คำจำกัดความการจัดการหรือการบริหาร เนื่องจากมีขอบข่ายและความหมายเกินกว่าจะนิยามด้วยประโยคสั้นๆ เพียงไม่กี่ประโยคได้ คำนิยามที่นักวิชาการในสมัยก่อนนิยามได้แก่ความหมายองค์ประกอบ (บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมาร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน) โดยดูว่ากิจกรรมใดบ้างที่เข้าข่ายลักษณะงามตามภารกิจของการจัดการ อย่างไรก็ตามนักวิชาการด้านการจัดการในปัจจุบันมีความเห็นไปในทางเดียวกันว่าควรให้คำนิยามความหมายของการจัดการหรือการบริหารเพื่อใช้เป็นแนวทางร่วมกันในการอธิบายขอบข่ายของลักษณะการจัดการ แม้จะไม่สามารถอธิบายได้ครอบคลุม หรืออธิบายได้เพียงบางส่วนเท่านั้นก็ตาม ก็เป็นสิ่งที่ควรกระทำเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจนขึ้น
                  ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ ได้ให้ความหมายการจัดการ คือกระบวนการนำทรัพยากรการบริหารมาใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามขั้นตอนการบริหารคือ
                1.การวางแผน ( 
Planning )
               2.การจัดการองค์การ ( Organizing )
               3. การชี้นำ ( 
Leading )
              4.การควบคุม ( 
Controlling )

ซึ่งจากความหมายดังกล่าวมีคำสำคัญ 3 คำ คือ กระบวนการ
ทรัพยากรการบริหาร และวัตถุประสงค์ สามารถนำมาเขียนเป็น แผนภูมิได้ดังภาพ


              INPUT คือทรัพยากรการบริหาร ( Management resources ) อันได้แก่ 4 M’s ประกอบด้วย คน ( Man ) เงิน ( Money ) วัตถุดิบ ( Material ) และวิธีการ  /  จัดการ (  Method / Management ) ถูกนำเข้าในระบบเพื่อการประมวลผลหรือการบริการที่เติบโตและพัฒนาก้าวหน้าไปพร้อมกับอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการที่เติบโตและพัฒนาขึ้นไปอย่างรวดเร็วทำให้ทรัพยากรเพียง 4 ประการเริ่มไม่เพียงพอสำหรับเป้าหมาย จึงได้เพิ่มขึ้นอีก 2 M’s เป็น 6 M’s ได้แก่ เครื่องจักรกล ( Machine ) และ การตลาด ( Market ) ในขณะเดียวกันการทำงานที่มองเห็นถึงความสำคัญ หรือคุณค่าของจิตใจของผู้ปฏิบัติงานมีมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของคนงานมากขึ้น จึงเพิ่มขวัญและกำลังใจ ( Morale ) เข้าไปเป็น 7 M’s และเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ( Globalization ) ระบบการสื่อสารไร้พรหมแดนที่ติดต่อเชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลกทำให้การติดต่อสื่อสารรวดเร็วใครไม่รู้หรือไม่มีข้อมูลย่อมเสียเปรียบในเชิงธุรกิจจึงได้เพิ่ม ข้อมูลข่าวสาร ( Message ) เข้าไปในทรัพยากรกระบวนการผลิต รวมเป็น 8 M’s  ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุดตราบเท่าที่ระบบอุตสาหกรรมการผลิตการจัดจำหน่ายและการบริการยังคงพัฒนาและก้าวไปไม่หยุดยั้ง
PROCESS คือ หน้าที่หรือกิจกรรมขั้นพื้นฐานที่ผู้บริหารต้องกระทำ ในปัจจุบันยึดถือหน้าที่ 4 ประการได้แก่ POLC การวางแผน ( Planning ), การจัดองค์การ ( Organizing ), การชี้นำ( Leading ) และ การควบคุม ( Controlling ) ซึ่งมีพัฒนาการของแนวคิดมาตั้งแต่สมัยของ ฟาโย ( Henri Fayol )ปี 1916 ที่เห็นว่าหน้าที่การจัดการ ประกอบด้วย POCCC ได้แก่ การวางแผน ( Planning ), การจัดองค์การ ( Organizing ), การสั่งการ ( Commanding ), การประสานงาน ( Coordinating ), การควบคุม ( Controlling ) ต่อมาในปี 1937 กูลิกและเออร์วิก ( Gulick และ Urwick ) เห็นว่ากระบวนการจัดการประกอบด้วย การวางแผน               ( Planning ), การจัดองค์การ ( Organizing ), การจัดคนเข้าทำงาน ( Staffing ), การอำนวยการ ( Directing ), การประสานงาน (Coordinating ), การรายงานผล( Reporting ) และ การงบประมาณ ( Budgeting ) ซึ่งนิยม เรียกย่อว่า POCDCORB ครั้งเมื่อเข้าปี 1972 แฮร์โรลด์ คูนตซ์  ( Harold D. Koontz ) มีความเห็นว่าหน้าที่ทางการจัดการคือ POSDC ได้แก่การวางแผน ( Planning ), การจัดองค์การ ( Organizing ), การจัดคนเข้าทำงาน ( Staffing ),การอำนวยการ ( Directing ) และการควบคุม ( Controlling )ซึ่งแนวความคิดของเขาเปลี่ยนแปลงไปชัดเจน โดยในปี 1988 คูนตซ์และเวียห์ริช  ( Koontz และ Weihrich )เขียนตำราใช้ชื่อว่า Management ร่วมกันและได้เปลี่ยนหน้าที่ทางการจัดการจากตัว D ( Directing ) เป็น L ( Leading ) พัฒนาด้านแนวคิดดังกล่าวยังคงก้าวต่อไปไม่หยุดยั้ง บางทีในยุคหน้าเราอาจเห็นหน้าที่การจัดการที่เหลืออักษรเพียงตัวเดียวหรือสองตัวเท่านั้นก็เป็นได้ ดังนั้นอาจสรุปหน้าที่หรือกิจกรรมขั้นพื้นฐานทางการจัดการได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการ ( Process) แปรรูปทรัพยากรที่นำเข้าให้เป็นผลผลิตตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์การต่อไป
                OUTPUT คือเป้าหมาย ( Goals ) หรือ วัตถุประสงค์ ( Objectives ) ขององค์การ ที่นำออกมาจากกระบวนการแปรรูปในขั้นตอนที่สอง เป้าหมายขององค์การสามารถแบ่งหยาบได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ องค์การที่มีเป้าหมายที่มุ่งแสวงหากำไร ( Profit ) และองค์การที่มีเป้าหมายไม่มุ่งแสวงหากำไร( Non – profit ) หรืออาจแบ่งเป็นองค์การที่วัตถุประสงค์เพื่อการผลิตสินค้า กับองค์การที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการ( Services ) ก็ได้
การจัดการในสำนักหอสมุด

             -สำนักงานเลขานุการ เป็นฝ่ายที่สนับสนุนภารกิจหลักของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีหน้าที่หลักในการดำเนินงานได้แก่ งานสารบรรณ การบริหารงานบุคคล จัดทำแผนและงบประมาณ อาคารสถานที่และยานพาหนะ ประชาสัมพันธ์ การเงินบัญชีและพัสดุ โดยอำนวยความสะดวกและประสานงานระหว่างสำนักหอสมุดกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
               


              -ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ  ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ฝ่ายต่าง ๆ ดูแลระบบเครือข่าย จัดการฐานข้อมูล ตลอดจนแก้ไขปัญหา ที่เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โปรแกรมและเครือข่าย เพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบงานดังนี้
1.วางแผนและพัฒนาระบบเทคโนโลยี ทำหน้าที่วางแผนและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ในห้องสมุด โดยการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับการพัฒนางาน
 2.งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ การพัฒนาหรือบริหารงานห้องสมุด
3.งานฐานข้อมูล ดูแลรับผิดชอบฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ฉบับเต็ม ฐานข้อมูลปัญหาพิเศษระปริญญาตรี และฐานข้อมูลอื่น ๆ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการให้บริการสารสนเทศ รวมทั้งการพัฒนาเว็บไซต์สำนักหอสมุด
4.งานเว็บไซต์ ดูแลและพัฒนาเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด
5.งานบริการดูแลระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้หน่วยงานต่าง ๆทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติบริการการติดตั้งรวมถึงดูแลระบบห้องสมุดอัตโนมัติกับคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการที่ร้องขอ
6.งานฝึกอบรม พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคลากรในระดับต่าง 
                   -ฝ่ายบริการสารสนเทศ  ทำหน้าที่ให้บริการยืม-คืนหนังสือ/วิทยานิพนธ์ แนะนำการใช้ห้องสมุดและบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด รวมทั้งดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือ ดังนี้

 งานยืม-คืน
·       บริการยืม-คืนหนังสือ/วิทยานิพนธ์
·       บริการยืมระหว่างห้องสมุด
·       รับสมัครสมาชิกห้องสมุด
·       ตรวจสอบหนี้สินของสมาชิกห้องสมุด
·       แจ้งสื่อเกินกำหนดส่งและแจ้งวันกำหนดส่งสื่อล่วงหน้าแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัย
งานส่งเสริมการใช้บริการ
·       ฝึกอบรมการใช้ห้องสมุดและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
·       แนะนำการสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
·       แนะนำการใช้ห้องสมุดและบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด
·       บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
งานบริการผู้อ่าน
·       ดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือ
·       ตรวจสอบหนังสือที่มีสภาพชำรุดและจัดส่งไปบำรุงรักษา
 -ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ  ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหาหนังสือจากภายในและต่างประเทศให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพารวมทั้งดำเนินงานบำรุงรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์อีกด้วย
               -ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  ทำหน้าที่วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อ ให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัยและตรงกับความต้องการ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและวิธีการต่าง ๆ มาใช้ในการดำเนินงานสร้างฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
1.งานตรวจสอบหนังสือกับฐานข้อมูล
- รับหนังสือจากฝ่ายวางแผนฯ และนำหนังสือมาทำการตรวจสอบรายการในระบบฐานข้อมูลของสำนักหอสมุด หากรายการใดมีอยู่แล้วดำเนินการเพิ่มข้อมูลรายการ(Item) ในฐานข้อมูล
- นำหนังสือที่ไม่มีในระบบฐานข้อมูลมาตรวจสอบกับinternet
- รายการใด ไม่มีในระบบห้องสมุด จะนำส่งให้บรรณารักษ์ทำการวิเคราะห์หมวดหมู่ต่อไป
2.งานสร้างและควบคุมฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือและสื่อโสตทัศน์ 
 - การกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์
 - ออกแบบหน้าจอของงานฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์
- ดูแลระบบฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์
  3.งานบันทึกข้อมูล
- บันทึกข้อมูลทางบรรณานุกรมหนังสือ  วิทยานิพนธ์ และสื่อโสตทัศน์ เช่น  ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ  สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์  ปีพิมพ์ หัวเรื่อง และข้อมูลอื่นๆ ตามรูปแบบมาตรฐานการลงรายการ  US MARC ลงในระบบฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือลงระบบ  Magic  Library
งานวิเคราะห์ข้อมู
 - วิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือแต่ละรายการ และกำหนดเลขหมู่ให้ตรงกับเนื้อหาพร้อมทั้งกำหนด หัวเรื่องโดยใช้คู่มือประกอบ
- ลงรายการบรรณานุกรม และกำหนดหัวเรื่องสื่อโสตทัศน์
4.งานเตรียมหนังสือและสื่อโสตทัศน์ก่อนออกบริการ 
- พิมพ์สัน ติดสัน ตามเลขเรียกหนังสือ
- ตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือกับสันหนังสือ
- พิมพ์รายชื่อหนังสือใหม่ตามใบแนะนำสั่งซื้อ ของอาจารย์ที่สั่งซื้อ
- นำหนังสือส่งฝ่ายบริการสิ่งพิมพ์ และ ฝ่ายส่งเสริมการใช้บริการ เพื่อออกให้บริการ
- นำสื่อโสตทัศน์ส่งออกให้บริการ
           -ฝ่ายเอกสารและวารสาร  ดำเนินการคัดเลือก การจัดหา ตรวจรับลงทะเบียนวารสาร หนังสือพิมพ์ และจดหมายข่าว การจัดทำรายการบรรณานุกรมวารสาร การจัดทำดัชนีวารสารการจัดทำหน้าสารบัญวารสาร การจัดทำวารสารสถาบันฉบับเต็ม การเย็บเล่มวารสาร และการดูแลห้องอ่านวารสาร
           -ฝ่ายโสตทัศนศึกษา  เป็นหน่วยงานหนึ่งในงานบริการการศึกษา สังกัดสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีหน้าที่ในการคัดเลือก จัดหา บริการยืม-คืน สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่สมาชิก บริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ โดยให้บริการเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ตลอดจน ให้บริการ VIDEO/CD on Demand รายการภาพยนตร์ และนิทรรศการออนไลน์บนเว็บไซต์สำนักหอสมุด
การให้บริการ  
          พื้นที่บริการ
                                   ชั้น 2

·       สมัครสมาชิกห้องสมุด
·       ยืม-คืนหนังสือ/ วิทยานิพนธ์, ยืมระหว่างห้องสมุด
·       สืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
·       หนังสือภาษาต่างประเทศ
·       มุมหนังสือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Corner), มุมต่อต้านการค้ามนุษย์, มุมคุณธรรม
ชั้น 3
·       ยืม-คืนหนังสือ/ วิทยานิพนธ์
·       หนังสือภาษาไทย, นวนิยาย, เรื่องสั้น, หนังสือเด็ก
ชั้น 5
·       ยืมหนังสือ/ วิทยานิพนธ์
·       ฝึกอบรม/ แนะนำการใช้ห้องสมุด
·       สืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
                  ·       วิทยานิพนธ์, หนังสืออ้างอิง, หนังสือหายาก, ราชกิจจานุเบกษา, สารสนเทศภาคตะวัน                                               ออก, จุลสาร, กฤตภาค
                          ชั้น 7

·       หนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
·       หนังสือภาษาไทย พิมพ์ก่อน พ.ศ. 2526
                  ·       หนังสือภาษาต่างประเทศ พิมพ์ก่อน ค.ศ. 1970
                   การบริการ

·       บริการหนังสือด่วน (หนังสือใหม่อยู่ระหว่างการดำเนินงานของงานพัฒนาทรัพยากร)หนังสือสืบค้นได้จาก OPAC (การสืบค้นจากคอมพิวเตอร์) ในช่องสถานะของหนังสือระบุว่า  กำลังดำเนินการ  ผู้ใช้สามารถขอรับบริการหนังสือชื่อเรื่องนั้น ๆ ได้จากฝ่ายวางแผนและพัฒนาทรัพยากร ห้อง 109 ชั้น 1 สำนักหอสมุด โดยทางฝ่ายจะให้บริการหนังสือด่วนแก่ผู้ใช้บริการทันทีที่ได้รับแบบคำร้องขอใช้หนังสือด่วน ซึ่งขอรับบริการคำร้องดังกล่าวได้จากเคาน์เตอร์บริการ ชั้น 2
·       บริการอินเทอร์เน็ต
·       บริการจัดแสดงสื่อใหม่
·       บริการห้องมินิโฮมเธียเตอร์
·       บริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
·       บริการยืม-คืนสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
·       บริการขอใช้สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์เร่งด่วน
·       บริการปริ้นท์ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตด้วยเครื่องพิมพ์มีทั้งขาวดำ และสี
·       บริการจองสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทาง WEB OPAC
·       บริการแปลงสัญญาณเทปวีดิทัศน์เป็นวีซีดีหรือแปลงสัญญาณวีซีดีเป็นเทปวีดิทัศน์
·       บริการ Video on Demand, CD on Demand
·       บริการนิทรรศการออนไลน์
·       บริการยืม-คืนทรัพยากรห้องสมุด
       การดูแลรักษาทรัพยากรในสำนักหอสมุด   
           1.  หนังสือทุกเล่มที่รับเข้ามาใหม่ในห้องสมุดก่อนจะทำการจัดหมวดหมู่เพื่อนำส่งขึ้นชั้นให้บริการนั้น จะต้องผ่านกระบวนการคัดแยกตามประเภทของปก และประเภทของสิ่งพิมพ์กล่าวคือจะคัดแยกหนังสือออกเป็น 4  ประเภทได้แก่  หนังสือปกแข็ง หนังสือปกอ่อน และวิทยานิพนธ์ (ฉบับสำเนา)  หนังสือปกแข็งจะคัดแยกและนำส่งฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  หนังสือปกอ่อนจะทำการเสริมปกแข็ง และวิทยานิพนธ์ฉบับสำเนาจะทำการเย็บเล่มและเข้าปกแข็ง  
            2.  หนังสือที่ออกให้บริการในห้องสมุดแล้วชำรุด ส่วนงานให้บริการผู้ใช้จะรวบรวมส่งให้งานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการรับมาทำความสะอาดและคัดแยกประเภทการซ่อม โดยจำแนกการซ่อมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่การซ่อมแบบสมบูรณ์ (Full repair) การซ่อมกึ่งสมบูรณ์ (Half repair) การซ่อมบางส่วน (Partial repair) และการเย็บเล่มเข้าปกแข็ง (binding) กระบวนการนี้รวมถึงการจัดทำป้ายอักษรชื่อเรื่องของหนังสือและแถบรหัสเลขเรียกหนังสือ เพื่อความสมบูรณ์ในการขึ้นชั้นให้บริการอีกครั้งหนึ่งของหนังสือด้วย
              3.  การรับหนังสือชำรุดจากส่วนให้บริการผู้ใช้จะต้องตรวจสอบเอกสารนำส่งซึ่งแนบมาให้ถูกต้องตรงกัน เมื่อมีรายการใดไม่ถูกต้องจะทำการทักท้วงและนำเอกสารส่งคืนเพื่อตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องตรงกับจำนวนและรายการหนังสือที่ได้รับจริงทุกครั้ง และเมื่องานบำรุงรักษาหนังสือดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำหนังสือส่งคืนส่วนให้บริการผู้ใช้ครบถ้วนตามจำนวนที่ได้รับ
              4.  สำหรับหนังสือที่ถูกส่งมาบำรุงรักษาไม่ว่าจะด้วยวิธีใด จะเป็นหนังสือใหม่แรกรับหรือหนังสือเก่าออกให้บริการแล้วชำรุดส่งซ่อมก็ตาม เมื่อมีผู้ใช้บริการต้องการใช้ด่วน งานบำรุงรักษาหนังสือจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับคำร้องขอ โดยร้องขอไม่เกินเวลา 14.00 น. ของวันทำการปกติหากได้รับแจ้งหลังจากเวลานั้นผู้ใช้บริการจะได้รับหนังสือในอีก 1 วันถัดมา
              5.   วัสดุที่ใช้ในการบำรุงรักษาหนังสือจะเป็นไปด้วยความประหยัดตามวิธีการในการบำรุงรักษาแต่ละวิธีซึ่งแตกต่างกันไป โดยหากวัสดุเดิมของหนังสือยังใช้ได้จะยังคงใช้เป็นส่วนสำคัญในการบำรุงรักษา ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมการเสริมปกแข็งหรือการเข้าปกเย็บเล่มใหม่ก็ตาม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น